ปัญหาที่พบได้บ่อยในการทำงานไฟเบอร์กลาส และวิธีแก้ไขเบื้องต้น

Last updated: 23 ม.ค. 2568  |  1014 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไฟเบอร์กลาส

 

3 ปัญหายอดฮิต ในการเริ่มต้นทำงานไฟเบอร์กลาส เจอแบบนี้ จะแก้ยังไงดี!!! เอาใจมือใหม่ หัดทำงานไฟเบอร์กลาส วันนี้เราได้คัดปัญหาทั่วไปที่พบเจอได้บ่อย พร้อมบอกวิธีแก้ไข มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และทำความเข้าใจได้ง่าย ซึ่งปัญหาหลักๆในวันนี้ที่เราจะพูดถึงกันมี 3 ข้อ มีอะไรบ้างไปดูกันเลยยย !!

ก่อนอื่น ถ้าใครอยากรู้จักเรซิ่นอย่างลึกซึ้ง คลิกเลย เรซิ่น....คืออะไร?


#1. รอมานานแล้ว แต่ทำไมเรซิ่นไม่ยอมแข็งตัว หรือแห้งตัวสักที??


สาเหตุที่ทำให้เรซิ่นเราไม่แข็งตัว เป็นไปได้หลายสาเหตุ เช่น ใส่ตัวเร่งน้อยเกินไป, ลืมใส่ตัวม่วง หรือโคบอลต์ (กรณีที่เป็นเรซิ่นไม่ผสม), ชิ้นงานยังไม่แห้งตัว หรือ cured เต็มที่ และอาจจะเกิดจากทำงานในสภาพอากาศเย็น หรือมีความชื้นสูง


วิธีการแก้ไขเบื้องต้น คือตรวจสอบว่าเราใส่ ตัวเร่งในอัตราส่วนที่เหมาะสม แล้วหรือยัง โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 1-2% ของน้ำหนักเรซิ่น และสำหรับเรซิ่นไม่ผสม ต้องไม่ลืมใส่ตัวม่วง หรือโคบอลต์ด้วย โดยควรใส่ที่ 0.25%ของน้ำหนักเรซิ่น หลังจากผสมทุกอย่างถูกต้อง หลังทำงานเสร็จแล้ว เราต้องรอระยะเวลาให้เรซิ่น cured หรือแห้งตัวเต็มที่ก่อน โดยปกติจะอยู่ที่ 8-12 ชม. นอกจากนี้ กรณีเราทำงานในวันที่อากาศเย็น หรือชื้น อาจจะต้องเพิ่มปริมาณตัวเร่งเล็กน้อย เพื่อให้ระยะเวลาการทำงานไม่นานจนเกินไป


#2. เรซิ่นแข็งตัวเต็มที่แล้ว แต่ทำไมหน้าไม่หายเหนียว??


ก่อนอื่นเลย เราต้องเช็คให้ชัวร์ว่าอัตราส่วนตัวเร่ง กับเรซิ่น เราใส่ได้ถูกต้องเหมาะสมกับปริมาณที่แนะนำ และ หลังทำงานเสร็จเรารอจน เรซิ่นแข็งตัวเต็มที่แล้ว ถ้าหน้าชิ้นงานยังไม่หายเหนียว อาจเกิดจากผู้ผลิตไม่ได้มีการใส่ Wax ในกระบวนการผลิต หรือ ใส่ Wax มาน้อยทำให้หน้าชิ้นงานไม่มันเงา เท่าที่ต้องการ


วิธีการแก้ไข ให้เราผสม โมโนแว็กซ์ (monowax) เพิ่มเข้าไปในเรซิ่นของเรา เพื่อให้หน้าของชิ้นงานแห้ง ลดความหนึบบนผิวหน้า เพิ่มความมันเงา โดยปริมาณที่เหมาะสม คือ 0.5-1% ของน้ำหนักเรซิ่น แนะนำให้เริ่มทดลองผสมจาก % น้อยๆก่อน


#3. เรซิ่นมีฟองอากาศ


ปัญหาสุดคลาสสิคที่ใครๆก้ต้องเจอแน่นอน เพราะเวลาที่เราคนผสม ตัวเร่ง กับเรซิ่นเข้าด้วยกัน ก็เหมือนเป็นการตีเอาอากาศเข้าไปเนื้อสารของเราด้วยนั่นเอง ทำให้เกิดฟองอากาศขึ้น


วิธีการแก้ไข เวลาผสม ไม่ต้องคนให้แรงมากจนเกินไป คนแค่ให้สารเข้ากันได้ดี และทั่วถึง ในขั้นตอนการผสมจะเกิดฟองได้บ้างเป็นเรื่องปกติ หากเกิดฟองอากาศ สามารถใช้ไม้จิ้มฟัน เจาะฟองอากาศให้แตก หรือใช้ไดร์เป่าลมร้อนผ่าน ๆ ไปที่ฟองอากาศ สามารถช่วยลดฟองได้



 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้